วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550

NAT is Not necessary for IPV6 security

หลังจากที่ห่างหายไปนาน ทางทีมงานเพิ่งไปร่วมแสดงความยินดีกับคุณ phoenix ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานของเราที่ได้สำเร็จการศึกษา จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เสียที จึงไม่ได้มาตอบบทความของผู้ชมซึ่งมีำคำถามมามากมาย วันนี้เราจึงได้นำบทความที่ คุณ Iporsut มาตอบให้แ้ล้วนะครับ

หลายคนเชื่อว่า NAT จำเป็นสำหรับ ip security ซึ่งมันเป็นความคิดที่ผิด ปัจจุบัน เราก็ติดตั้ง firewall เพื่อป้องกัน และใช้ NAT รวมกันกับ firewall แต่อย่าลืมนะว่า NAT ไม่ใช่ firewall จุดประสงค์หลักของ nat ก็ คือการรักษาความปลอดภัยของไอพีผู้ใช้จริงๆ ก่อนที่จะออกมาสู่ public ip
ดังนั้น ถ้าใช้ ipv6 แทน ipv4 นั่นหมายความว่า NAT จะไม่จำเป็นอีกแล้ว เพราะเราจะมี ip ที่เพียงพอในการใช้งาน

สรุปง่ายๆ นะครับ NAT มันจำเป็น สำหรับ ipv4 แต่มันไม่จำเป็นสำหรับ ipv6

ได้ข้อมูลมาจาก http://www.kame.net/newsletter/19980807/

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

multicast and IPv6

หลังจากที่บล็อก phoenixGT(ชื่อแบบเต็มๆ) ได้ทำการเผยแพร่อย่างเป็นทางการไปไม่นาน ก็มีผู้เข้ามาติชมกันอย่างมากมาย ประมาณ 300 คน(ที่จริงสามคน)ก็ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น ซึ่งทางทีมงานของเรา(มีอยู่คนเดียว)จะพยายามนำเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มาให้
้เพื่อนๆได้อ่านกันนะครับ วันนี้เราจะมาตอบคำถามกันนะครับก็มีคนถามเข้ามา
มากมายเลย เราก็จะพยายามตอบให้ได้มากที่สุดแล้วกันนะครับ

เริ่มที่เรื่องของ Multicast ใน Class D ของ Network IP มีผู้ชมสงสัยว่ามันคืออะไร
และ IPV6 ว่ามันเป็นอย่างไรนะครับ วันนี้เราจะมาหาคำตอบให้แล้ว

เริ่มที่ IP multicast เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่ง 1 รายกับผู้รับหลายรายบนระบบเครือข่าย อย่างเช่นพวกการประชุมผ่านอินเตอร์เนตก็จะใช้ IP multicast กัน
ไม่มั่นใจว่าจะเกี่ยวข้องกับ vdo conference หรือป่าวนะ แต่ถ้าจะทำก็ต้องพึ่งพวก broadband อยู่ดี เพราะต้องใช้อินเตอร์เนตที่มีความเร็วสูงพอสมควร และไอ้multicast นี้มันก็เป็นประเภทแพ็คเกตใน Internet Protocol Version 6 (IPV 6)

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 ซึ่ง

ตอนนี้ก็มีการทำมารองรับแล้วในปัจจุบัน แต่ยังไม่เห็นนำมาใช้กัน
การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่ายพูดง่ายๆก็คือทำให้มี IP มากขึ้นนั่นเอง
IPv6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด)multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว)

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ip address

มารู้จักคลาสของระบบเครือข่ายกันก่อนดีกว่าว่ามีคลาสอะไรกันบ้าง ซึ่งจะมีด้วยกันอยู่ 5 คลาส ได้แก่
A 1.0.0.1 - 126.255.255.255
B 128.0.0.0 - 191.255.255.255
C 192.0.0.0 - 223.255.255.255
D 224.0.0.0 - 239.255.255.255 (multicast)
E 240.0.0.0 - 255.255.255.255 เก็บไว้ใช้ในอนาคต (reserved)
127.x.x.x ใช้ในการทดสอบระบบ
โดยปกติ LAN ตามบ้านหรือตามหอพักมันจะให้คลาส C เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในบริษัทก็จะนิยมทำเป็นคลาส B
ส่วนคลาส D นั้นเป็นไอพีที่สำรองไว้สำหรับส่งข้อมูลแบบ multicast
พูดง่ายๆก็คือคลาสที่เราใช้ได้ตอนนี้ก็จะมี A,B,C

private ip
10.0.0.0-10.255.255.255
172.16.0.0 - 172.31.255.255
192.168.0.0 - 192.168.255.255
169.254.0.0-169.254.255.255
พวก private class นี้เป็น ip ที่ใช้สำหรับเป็นเครือข่ายภายใน

public ip
ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆก็คือ พวกไอพีสาธารณะ ซึ่งไอพีก็จะไม่อยู่ใน private ip ถ้าถามว่ามันทำไปทำไม เพราะว่าเวลาเราต่อ internet
ทาง internet service provider(ISP) เขาจะทำการจัดการไอพีของเราให้เป็น public ip ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อออกข้างนอกได้
ด้วยวิธีที่เรียกว่า NAT (network address translation) นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

overview

ช่วงนี้ก็ใกล้จะเรียนจบแล้ว เลยคิดว่าอยากทำอะไรที่มันเป็นรูปร่างกับคนอื่นๆเขาบ้าง(ถึงจะไม่ค่อยมีสาระก็เถอะ) ในการเขียนบล็อกครั้งนี้ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเวบไซต์ duocore.tv ซึ่งเป็นเวบที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาก ทำให้คิดอยากจะสร้างเนื้อหาที่เราชอบและเป็นประโยชน์บ้าง ตอนแรกคิดจะทำนานแล้วแหละแต่ว่าไม่รู้จะนำเสนอในเรื่องแบบไหนดี เพราะอยากทำหลายเรื่อง เอาเป็นว่าขอเป็นเรื่องที่เราชอบเป็นพอ เฮอๆ